วันอังคารที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2557

สรุปบทความ

เรื่องไม่เล็กของเด็กชายขอบ กับการสร้างกระบวนการเรียนรู้วิทย์แบบบูรณาการ
  
    บนถิ่นทุรกันดารตามแนวรอยต่อพรมแดยระหว่างไทย - พม่า ยังมีเด็กและเยาวชนตามชายขอบ

ที่รอคอยความหวังการเรียนการสอนและการช่วยเหลือจากสังคมอย่างมาก

   สสวท. จึงได้ริเริ่ม "โครงการบูรณาการวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีปฐมวัย" 

ตั้งแต่ปี 2549 ภายใต้แนวทางการจัดอบรมครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ให้มีทักษะบูรณาการ เพื่อต่อยอด

การต่อยอดการเรียนรู้ของเด็ก ผ่านกระบนการสืบเสาะ 4 ขั้นตอน ได้แก่

- การตั้งคำถาม

- การสำรวจตรวจสอบ

- การตอบคำถาม

- นำผลการสำรวจตรวจสอบได้ด้วยตนเอง

   โดยให้นิยามว่า วิทยาศาสตร์  คือ กระบวนการแสวงหาคำตอบและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง

ขอเพียงให้เด็กได้ฝึกกระบวนการคิด วิเคราะห์ การสังสังเกต จำแนก เปรียบเทียบและสรุปความรู้

เพื่อให้เด็กสามารถนำไปใช้แก้ปัญหาในเรื่องต่างๆได้

   สสวท. จะมีการจัดอบรมครูจากโรงเรียนในโครงการฯ ปีละ 1 ครั้ง โดยใช้เวลาทั้งสิ้น 5 วัน

เมื่อครูที่อบรมได้รับความรู้แล้ว ก็จะนำความรู้ไปเผยแพร่ให้กับครูและบุคคลอื่นๆในชุมชน  

เพื่อเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเรียนการสอนให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อเด็กทุกคน 

   ผลจากการประเมินของ สปศ. หลายปีที่ผ่านมา เด็กกลุ่มนี้มีความอ่อนด้อยในทักษะการคิดวิเคราะห์

แต่เมื่อนำกระบวนการของ สสวท. เข้ามาปรับใช้ทำให้การประเมินมาตรฐาน ตามงบประมาณปี 2554

โรงเรียนระดับปฐมวัยทั้ง 13 แห่ง ผ่านการประเมินครบทุกโรงเรียน

    แต่กว่าจะประสบความสำเร็จครูต้อพบปัญหาต่างๆมากมาย เช่น ปัญหาทางการสื่อสารทางภาษา

ความรู้ทางจิตวิทยาเด็ก และเกิดความสับสนของการจัดกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม จนเมื่อได้รับการอบรม

จึงเกิดความเข้าใจว่าแผนการจัดกิจกรรมหลักที่มีอยู่แล้วส่งผลให้ครูมีองค์ความรู้ในการจัดรูปแบบ

การเรียนการสอนได้ชัดเจนยิ่งขึ้นและสามารถต่อยอดกิจกรรมตามสภาพแวดล้อมและภูมิปัญญา

ในท้องถิ่นตน 

   
  


วันพุธที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 4

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (EAED3207)
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 11 กันยายน 2557
เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
เวลาเข้าสอน08.30น.  เวลาเข้าเรียน 08.30น.  เวลาเลิกเรียน 12.20น.

การเรียน การสอนในครั้งนี้สามารถสรุปความรู้เป็น my mapping ได้ดังรูปภาพด้านล่าง




การประยุกต์และการนำไปใช้

      - สามารถนำแนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์มาปรับใช้ในการเรียนการสอนวิชานี้ได้และ

เป็นความรู้เพิ่มเติมในการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้เป็นอย่างดี


การประเมิน

         ตนเอง    เข้าเรียนตรงต่อเวลา มีการตอบคำถามอาจารย์เป็นประจำ สม่ำเสมอ ตั้งใจเรียน

สนใจการสอนและการสรุปบทความของเพื่อน

         เพื่อน   ตั้งใจเรียนดี อาจมีคนเข้าเรียนสายบ้าง ตอบคำถามกันหลากหลาย พร้อมแสดง

ความคิดเห็นในการตอบคำถาม

        อาจารย์   เข้าสอนตรงเวลา สอนเนื้อหาครอบคลุม ละเอียด ให้ความรู้นักศึกษาได้อย่างครบถ้วน


                                                                             



วันอังคารที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 3

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (EAED3207)
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
 
วัน/เดือน/ปี 4 กันยายน 2557
เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
เวลาเข้าสอน08.30น.  เวลาเข้าเรียน 08.30น.  เวลาเลิกเรียน 12.20น.

การเรียน การสอนในครั้งนี้สามารถสรุปเป็น my mapping ได้ดังรูปภาพด้านล่าง




ความรู้เพิ่มเติมจากการเรียนครั้งนี้

ทฤษฎีการเสริมแรงของสกินเนอร์

ผู้ที่เป็นเจ้าของทฤษฎีนี้คือสกินเนอร์ โดยที่เขามีความคิดเห็นว่าทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคนั้นจำกัดอยู่กับพฤติกรรมการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นเป็นจำนวนน้อยของมนุษย์ พฤติกรรมส่วนใหญ่แล้วมนุษย์จะเป็นผู้ลงมือปฏิบัติเองไม่ใช่เกิดจากการจับคู่ระหว่างสิ่งเร้าใหม่กับสิ่งเร้าเก่าตามการอธิบายของพาฟลอฟ สกินเนอร์ได้อธิบาย คำว่า "พฤติกรรม" ว่าประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ตัว คือ


ภาพ ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค

ซึ่งเขาเรียกย่อ ๆ ว่า A-B-C ซึ่งทั้ง 3 จะดำเนินต่อเนื่องกันไป ผลที่ได้รับจะกลับกลายเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดขึ้นก่อนอันนำไปสู่การเกิดพฤติกรรมและนำไปสู่ผลที่ได้รับตามลำดับ
สำหรับการทดลองของสกินเนอร์ เขาได้สร้างกล่องทดลองขึ้นซึ่ง กล่องทดลองชองสกินเนอร์ (Skinner Boxes) จะประกอบด้วยที่ใส่อาหาร คันโยก หลอดไฟ คันโยกและที่ใส่อาหารเชื่อมติดต่อกัน การทดลองเริ่มโดยการจับหนูไปใส่กล่องทดลอง เมื่อหนูหิวจะวิ่งวนไปเรื่อย ๆ และไปเหยียบถูกคันโยก ก็จะมีอาหารตกลงมา ทำให้หนูเกิดการเรียนรู้ว่าการเหยียบคันโยกจะได้รับอาหารครั้งต่อไปเมื่อหนูหิวก็จะตรงไปเหยียบคันโยกทันที ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวถือว่าหนูตัวนี้เกิดการเรียนรู้แบบการลงมือกระทำเอง

1. คำศัพท์ที่สำคัญในการศึกษาทดลองของสกินเนอร์
การเสริมแรง คือสิ่งที่มีอิทธิพลต่อการแสดงพฤติกรรมของบุคคลซึ่งจะแยกเป็น 2 ประเภทคือ การเสริมแรงทางบวก คือสิ่งที่ก่อให้เกิดการแสดงพฤติกรรมเพิ่มขึ้น และการเสริมแรงทางลบ คือสิ่งที่เมื่อนำออกไปแล้วจะทำให้การแสดงพฤติกรรมเพิ่มขึ้น การลงโทษ การเสริมแรงทางลบและการลงโทษมีลักษณะที่คล้ายคลึงกันและมักจะใช้แทนกันอยู่เสมอ แต่การอธิบายของสกินเนอร์การเสริมแรงทางลบและการลงโทษต่างกัน โดยเขาได้เน้นว่าการลงโทษนั้นเป็นการระงับหรือหยุดยั้งพฤติกรรม
เปรียบเทียบการเสริมแรงและการลงโทษ ได้ดังนี้
 
พฤติกรรม
การเสริมแรง
เพิ่มพฤติกรรม ก่อให้เกิดการกระทำ พฤติกรรมนั้นบ่อยขึ้น
พฤติกรรม
การลงโทษ
ลดพฤติกรรม ก่อให้เกิดการกระทำ พฤติกรรมนั้นน้อยลง
 
เปรียบเทียบการเสริมแรงทางบวก การเสริมแรงทางลบและการลงโทษ
 
ชนิด
ผล
ตัวอย่าง
การเสริมแรงทางบวก
พฤติกรรมเพิ่มขึ้นเมื่อมีสิ่งเร้าโดย
เฉพาะอย่างยิ่งเป็นสิ่งเร้าที่บุคคล
นั้นต้องการ 
ผู้เรียนที่ทำการบ้านส่งตรงเวลาแล้ว
ได้รับคำชม จะทำการบ้านส่งตรง
เวลาสม่ำเสมอ
การเสริมแรงทางลบ
พฤติกรรมเพิ่มขึ้นเมื่อสิ่งเร้าที่ไม่
เป็นที่พึงปรารถนาถูกทำให้ลด
น้อยหรือหมดไป
ผู้เรียนที่ทำรายงานส่งตามกำหนด
เวลาจะไม่เกิดความวิตกอีกต่อไป
ดังนั้นในครั้งต่อไปเขาก็จะรีบทำ
รายงานให้เสร็จตรงตามเวลา
การลงโทษ 1
พฤติกรรมลดลงเมื่อมีสิ่งเร้าโดย
เฉพาะสิ่งที่เขาไม่พึงปรารถนาเกิด
ขึ้น
เมื่อถูกเพื่อน ๆ ว่า "โง่" เพราะตั้ง
คำถามถามผู้สอน ผู้เรียนคนนั้น
เลิกตั้งคำถามในชั้นเรียน
การลงโทษ 2
พฤติกรรมลดน้อยลง เมื่อนำสิ่ง
เร้าที่เขาพึงปรารถนาออกไป 
ผู้เรียนที่ถูกหักคะแนนเพราะตอบ
ข้อสอบในลักษณะที่แตกต่างจาก
ครูสอน ในครั้งต่อไปเขาจะไม่
ตอบคำถามในลักษณะนั้นอีก

ตัวชี้แนะ คือการสร้างสิ่งเร้าให้เกิดประโยชน์ได้อย่างเหมาะสม เพื่อทำให้เกิดพฤติกรรมที่ต้องการ ภายในระยะเวลาที่ต้องการ ซึ่งบุคคลมักจะลืมอยู่บ่อย ๆ ตัวกระตุ้น คือ การเพิ่มตัวชี้แนะเพื่อการกระตุ้นพฤติกรรม ซึ่งมักจะใช้ภายหลังจากการใช้ตัวชี้แนะแล้ว

2. ตารางการให้การเสริมแรง

ในการทดลองของสกินเนอร์ซึ่งเน้นให้ผู้เรียนเป็นผู้ลงมือกระทำเอง ดังนั้นระยะเวลาในการให้การเสริมแรงจะมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้มาก ตารางการให้การเสริมแรง สามารถแยกออกได้ ดังนี้ 



ภาพ การเสริมแรง

ตัวอย่างตารางการให้การเสริมแรง
 
ตารางการเสริมแรง
ลักษณะ
ตัวอย่าง
การเสริมแรงทุกครั้ง (Continuous)
เป็นการเสริมแรงทุกครั้งที่
แสดงพฤติกรรม 
ทุกครั้งที่เปิดโทรทัศน์แล้ว
เห็นภาพ
การเสริมแรงความช่วงเวลาที่
แน่นอน (Fixed - Interval) 
ให้การเสริมแรงตามช่วงเวลาที่
กำหนด
ทุก ๆ สัปดาห์ผู้สอนจะทำ
การทดสอบ
การเสริมแรงตามช่วงเวลาที่
ไม่แน่นอน
(Variable - Interval)
ให้การเสริมแรงตามระยะเวลา
ที่ไม่แน่นอน
ผู้สอนสุ่มทดสอบตามช่วงเวลา
ที่ต้องการ 
การเสริมแรงตามจำนวนครั้ง
ของการตอบสนองที่แน่นอน
(Fixed - Ratio)
ให้การเสริมแรงโดยดูจาก
จำนวนครั้งของการตอบสนอง
ที่ถูกต้องด้วยอัตราที่แน่นอน
การจ่ายค่าแรงตามจำนวน
ครั้งที่ขายของได้
การเสริมแรงตามจำนวนครั้ง
ของการตอบสนองที่ไม่แน่นอน
(Variable - Ratio)
ให้การเสริมแรงตามจำนวนครั้ง
ของการตอบสนองแบบไม่แน่นอน
การได้รับรางวัลจากเครื่อง
เล่นสล๊อตมาชีน
 
3. การปรับพฤติกรรม 
การปรับพฤติกรรม คือ การนำแนวความคิดของสกินเนอร์ในเรื่องกฎแห่งผลมาใช้อย่างเป็นระบบเพื่อทำการปรับพฤติกรรมของบุคคล หลักการนี้อาจจะใช้ทั้งการเสริมแรงทางบวกและการเสริมแรงทางลบประกอบกัน อย่างไรก็ตามจากการศึกษาวิจัยของทิฟเนอร์และคณะ พบว่าในหลาย ๆ ครั้งที่การใช้หลักดังกล่าวไม่เกิดผลนั่นก็คือแม้จะใช้หลักการชม แต่ผู้เรียนก็ยังคงมีการกระทำผิดต่อไป ดังนั้นการใช้หลักดังกล่าวควรจะใช้ร่วมกับเทคนิคอื่น ๆ ด้วย 
หลักการชมที่มีประสิทธิภาพ ควรจะมีลักษณะดังนี้

(1) ควรชมพฤติกรรมที่สมควรได้รับการยกย่อง
(2) ระบุพฤติกรรมที่สมควรยกย่องอย่างชัดเจน
(3) ชมด้วยความจริงใจ
 

การประยุกต์และการนำไปใช้

-  สามารถนำหลักการ ทฤษฎีไปใช้ในการจัดการเรียนรู้กับเด็กปฐมวัยได้อย่างถูกต้อง

-  เพื่อเป็นแนวทางในการเรียนรายวิชาต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา


การประเมิน

     ตนเอง  มีการตอบคำถามสม่ำเสมอ ตั้งใจเรียนดี แต่งกายถูกระเบียบ เข้าเรียนตรงต่อเวลา

     เพื่อน   สนใจการเรียนกันเป็นอย่างดี มีการแสดงคาวมคิดเห็นกันทุกคน อาจมีบางคนเข้าสายบ้าง คุย/เล่น บ้างบางคน

    อาจารย์   เข้าสอนตรงต่อเวลา มีการอธิบายหัวข้อที่เรียนได้อย่างละเอียด ครบถ้วน




บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 2

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (EAED3207)
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
 
วัน/เดือน/ปี 28 สิงหาคม 2557
เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
เวลาเข้าสอน08.30น.  เวลาเข้าเรียน 08.30น.  เวลาเลิกเรียน 12.20น.

เนื้อหาบางส่วนศึกษามาจากนางสาวกมลพรรณ แสนจันทร์ เนื่องจากไปสัมภาษณ์ กยศ.

การเรียนการสอนครั้งนี้สามารถสรุปสิ่งที่เรียนมาเป็น my mapping ได้ดังรูปภาพด้านล่างนี้




ความรู้ที่ได้รับสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ คือ


- เป็นความรู้พื้นฐานในการเรียนวิชาการจัดประสบการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้

- สามารถทำให้เรามีแนวทางในการจัดกิจกรรม ส่งเสริมความสามารถทางวิทยาศาสตร์

ด็กปฐมวัยได้อย่างถูกต้อง



การประเมิน


         ตนเอง  สนใจกับเนื้อหาที่เรียน แต่การทำงานยังไม่ตรงเวลา อาจช้าบ้าง


        เพื่อน   ตั้งใจกับการเรียนเป็นอย่างดี มีความใส่ใจกับเนื้อหา มาเรียนกันตรงเวลา 

มีการถามตอบ คำถาม แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันเป็นอย่างดี


       อาจารย์  มาตรงต่อเวลา การแต่งกายมีความเหมาะสม ให้ความรู้นักศึกษาได้อย่างละเอียด 

ครบถ้วน