วันจันทร์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 7

Science Experiences Management for Early childhood

EAED3207 การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

Timetable 08.30-12.20 Group 101 No. 31

2nd October 2014



กิจกรรมในการเรียนครั้งนี้ ( Activities in class )


ชื่อกิจกรรม แกนทิชชูไต่ราว


อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำ (Equipment )



1.กระดาษ (Paper) 2.กรรไกร (Scissors) 3.แกนทิชชู (Tissue paper) 4.ไหมพรม1 วา (yarn)


5.ดินสอ(Pencil) 6.กาว(Glue) 7.ที่เจาะกระดาษ (Paper Punches)




วิธีทำ ( How do )


1.ตัดแกนทิชชูให้มีขนาดพอเหมาะ แล้วเจาะรูให้เท่ากัน

2.นำกระดาษมาตัดเป็นวงกลมให้เท่ากับแกนทิชชู

3.วาดรูปที่เด็กๆชอบลงไปในกระดาษแล้วติดลงไป

4.นำไหมพรมสอดลงไปในรูทุก ๆ ด้านแล้วมัดปมให้แน่น เป็นอันเสร็จเรียบร้อย








ภาพขณะเล่น : หากเราดึงเชือกกว้างขึ้น จะทำให้แกนทิชชูเลื่อนขึ้นเรื่อยๆ



สรุปกิจกรรม ( Summary of Activities )

       
        จากกิจกรรมที่ทำทำวันนี้สามารถสรุปได้ว่าการที่แกนทิชชูสามารถเลื่อนขึ้นนั้นเกิดจาก 

การเกิดแรงเสียดทานระหว่างเชือกและแกนทิชชู ซึ่งอาจสรุปได้ดังนี้

        
         แรงเสียดทาน (friction) เป็นแรงที่เกิดขึ้นเมื่อวัตถุหนึ่งพยายามเคลื่อนที่ หรือกำลังเคลื่อนที่ไป

บนผิวของอีกวัตถุ เนื่องจากมีแรงมากระทำ มีลักษณะที่สำคัญ ดังนี้


1. เกิดขึ้นระหว่างผิวสัมผัสของวัตถุ


2. มีทิศทางตรงกันข้ามกับทิศทางที่วัตถุเคลื่อนที่หรือตรงข้ามทิศทางของแรงที่พยายาม

ทำให้วัตถุเคลื่อนที่



การประเมิน (assessment)

     
      ตนเอง(Me) แต่งกายถูกระเบียบ มาเรียนตรงต่อเวลา สนใจในการเรียนดี อาจมีคุยเล่นกับเพื่อน

บ่อยกว่าทุกครั้ง ควรปรับปรุงในการเรียนครั้งต่อไป


       
       เพื่อน (Friend) เข้าเรียนตรงต่อเวลา ตั้งใจและสนใจเรียนดี ให้ความร่วมมือในการเรียนดี



       อาจารย์ (Teacher) เข้าสอนตรงต่อเวลา มีการนำวิธีการสอน การทำสื่อที่น่าสนใจให้นักศึกษา

ให้ความรู้อย่างเต็มที่และใส่ใจต่อการสอนมาก

บันทึกอนุทินครั้งที่ 6





Science Experiences Management for Early childhood


EAED3207 การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


Timetable 08.30-12.20 Group 101 No. 31


25th September 2014 




กิจกรรมในห้องเรียนครั้งนี้

            
ชื่อกิจกรรม ลูกยางกระดาษ

 อุปกรณ์ 

 1.กระดาษ (paper)  

2.กรรไกร (Scissors)   

3.คลิปหนีบกระดาษ(paperclip)


ขั้นตอนการทำ (Procedures)


1. ตัดกระดาษให้เป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า
2.พับกระดาษเป็นสองส่วน เท่า ๆ กัน
3.ตัดกระดาษจากริมเข้าไปสู่ด้านในจนถึงครึ่งกระดาษ
4.พับริมกระดาษฝังตรงข้ามเข้ามานิดนึงแล้วนำคลิปหนีบไว้
5.ตกแต่งให้สวยงาม






ผลที่ได้รับจากการทำกิจกรรมลูกยางกระดาษ

    
  การสังเกต ( observation ) การเกิดแรงโน้มถ่วง ( The gravity ) จากการทำกิจกรรมโดยเมื่อ

ลูกยางหล่นลงจากที่สูงจะแรงต้านทาน( resistance )ที่ทำให้เกิดการหมุน( rotation ) 

โดยกิจกรรมนี้มีการทดลอง ( trials ) โดยให้เด็กได้เล่น ( play ) ซึ่งการเล่นถือว่าเป็นเครื่องมือ

อย่างหนึ่ง ที่ให้เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนเอง เรียกว่า การจัดกิจกรรมสอดคล้องกับวิธีการ

เรียนรู้(Learning)



         หลังจากการทำกิจกรรมเสร็จแต่ละกลุ่มก็ได้นำ mind map หน่วยการเรียนรู้ต่างๆมาติดให้

เพื่อนๆได้ศึกษากัน โดยกลุ่มของกระผมได้ทำหน่วยการ้รียนรู้เรื่อง กล้วย ซึ่งสรุปได้ดังรูปภาพ

ด้านล่างนี้




การสรุป mind map ครั้งที่ 1





การสรุป mind map ครั้งที่ 2 หลังจากได้รับคำแนะนำจากอาจารย์




การประเมิน (assessment)




             ตนเอง(Me) แต่งกายถูกระเบียบ เข้าเรียนตรงต่อเวลามีความสนใจในการเรียนดีให้


ความร่วมมือกับการทำกิจกรรมอย่างเต็มที่


              เพื่อน (Friend) เข้าเรียนตรงต่อเวลา ตั้งใจเรียนดี อาจมีคุย/เล่นบ้างบางส่วน


            อาจารย์ (Teacher) แต่งกายเหมาะสม มีความตรงต่อเวลามาก มีการสอนที่น่าสนใจและ
มีการนำเสนอกิจกรรมที่น่าสนใจและเป็นความรู้ให้กับนักศึกษาได้เป็นอย่างดี





บัยทึกอนุทินครั้งที่ 5

                             

Science Experiences Management for Early childhood




EAED3207 การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย



Timetable 08.30-12.20 Group 101 No. 31


18th September 2014

    
กิจกรรมในห้องเรียนครั้งนี้

           กิจกรรม : หมุน หมุน หรรษา
   
           อุปกรณ์ : กระดาษ (paper)  ไม้แท่ง (sticks) เทปกาว (tape) สี (color) 


ขั้นตอนการทำ (Procedures)

            นำกระดาษมา 1 แผ่น พับครึ่ง พร้อมวาดภาพระบายสีที่สอดคล้องกันทั้ง 2 ด้าน

เมื่อวาดภาพตกแต่งเสร็จ ให้ใช่เทปกาวติดไม้แท่งกับกระดาษจนเกิดความหนาแน่น

ดังรูปภาพด้านล่างนี้




ภาพจากการประดิษฐ์เสร็จ




ภาพจากการหมุน




ผลจากการทำกิจกรรม (Results of activity)

           เด็กเกิดการเรียนรู้โดยการสังเกต (observation) จากการทำกิจกรรม โดยสังเกตว่าภาพ

มีการเปลี่ยนแปลง ว่าภาพมีมิติอย่างไร ภาพซ้อนกันเกิดจากอะไร และเกิดขึ้นได้อย่างไร



 หลังจากทำกิจกรรมเสร็จ อาจารย์ได้ให้ฟังเพลงเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ ตามลิงค์ด้านล่างนี้


http://www.youtube.com/watch?v=FX2YsROsh9A


การประเมิน (assessment)


      ตนเอง(Me)   เข้าเรียนตรงต่อเวลามีความสนใจในการเรียนและทำกิจกรรมดี มีการตอบ

คำถามอาจารย์สม่ำเสมอ


      เพื่อน (Friend )  มีความสนใจในการเรียนดี แต่งกายถูกระเบียบเรียบร้อย มีการตอบคำถาม

ที่หลากหลาย อาจมีบางคนเข้าเรียนสาย 


      อาจารย์ (Teacher)  มีความตรงต่อเวลามาก มีการนำเสนอรูปแบบการสอนที่น่าสนใจและ

มีการนำเสนอกิจกรรมที่น่าสนใจและเป็นความรู้ให้กับนักศึกษาได้เป็นอย่างดี

          


   




วันพฤหัสบดีที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ความลับของแสง (The Secret of Light)

                              
                      จากการดูวีดีโอ ความลับของแสง สามารถสรุปเป็นความรู้ได้ดังนี้


 แสง ( Light)  

  
     แสงเป็นพลังงานรูปหนึ่ง เดินทางในรูปคลื่นด้วยอัตราเร็วสูง 300,000 กิโลเมตรต่อวินาที แหล่ง

กำเนิดแสงมีทั้งแหล่งกำเนิดที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น แสงดวงอาทิตย์ที่เป็นแหล่งพลังงานของสิ่ง

มีชีวิต แหล่งกำเนินแสงที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น แสงสว่างจากหลอดไฟ เป็นต้น

การสะท้อนของแสง (Reflection)

     เป็นปรากฏการณ์ที่แสงเดินทางจากตัวกลางที่มีความหนาแน่นค่าหนึ่งมายังตัวกลางที่มีค่าความหนา

แน่นอีกตัวหนึ่ง ทำให้แสงตกกระทบกับตัวกลางใหม่ แล้วสะท้อนกลับสู่ตัวเดิม เช่น การสะท้อนของแสง

จากอากาศกับผิวหน้าของกระจกเงาจะเกิดการสะท้อนแสงที่ผิวหน้าของกระจกเงาราบแล้วกลับสู่อากาศ

ดังเดิม เมื่อแสงตกกระทบกับผิวหน้าของตัวกลางใดๆ ปริมาณและทิศทางของการสะท้อนของแสง จะ

มากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับธรรมชาติของพื้นผิวหน้าของตัวกลางที่ตกกระทบ จากรูป เมื่อลำแสงขนาน

ตกกระทบพื้นผิวหน้าวัตถุที่เรียบ แสงจะสะท้อนเป็นลำแสงขนานเหมือนกับลำแสงที่ตกกระทบ การ

สะท้อนบนพื้นผิวหน้าที่เรียบ โดยเรียกว่า การสะท้อนแบบสม่ำเสมอ (Reflection uniform)


การหักเหของแสง (Refraction of Light)

     เมื่อแสงเดินทางผ่านวัตถุหรือตัวกลางโปร่งใส เช่น อากาศ แก้ว น้ำ พลาสติกใส แสงจะสามารถเดิน

ทางผ่านได้เกือบหมด เมื่อแสงเดินทางผ่านตัวกลางชนิดเดียวกัน แสงจะเดินทางเป็นเส้นตรงเสมอ แต่

ถ้าแสงเดินทางผ่านตัวกลางหลายตัวกลาง แสงจะหักเห


สาเหตุที่ทำให้แสงเกิดการหักเห (The reason for the light refraction)

    
     เกิดจากการเดินทางของแสงจากตัวกลางหนึ่งไปยังอีกตัวกลางหนึ่งซึ่งมีความหนาแน่นแตกต่างกัน 

จะมีความเร็วไม่เท่ากันด้วย โดยแสงจะเคลื่อนที่ในตัวกลางโปร่งกว่าได้เร็วกว่าตัวกลางที่ทึบกว่า เช่น 

ความเร็วของแสงในอากาศมากกว่าความเร็วของแสงในน้ำ และความเร็วของแสงในน้ำมากกว่าความเร็ว

ของแสงในแก้วหรือพลาสติก

     
      การที่แสงเคลื่อนที่ผ่านอากาศและแก้วไม่เป็นแนวเส้นตรงเดียวกันเพราะเกิดการหักเหของแสง 

โดยแสงจะเดินทางจากตัวกลางที่มีความหนาแน่นน้อยกว่า ( โปร่งกว่า) ไปยังตัวกลางที่มีความหนา

แน่นมากกว่า ( ทึบกว่า) แสงจะหักเหเข้าหาเส้นปกติ ในทางตรงข้าม ถ้าแสงเดินทางจากยังตัวกลางที่มี

ความหนาแน่นมากกว่า ไปยังตัวกลางที่มีความหนาแน่นน้อยกว่า แสงจะหักเหออกจากเส้นปกติ


          สามารถศึกษาวีดีโอทางด้านล่างเพื่อเป็นความรู้เพิ่มเติมได้ในลิงค์ล่างนี้