วันอังคารที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2557

สรุปบทความ

เรื่องไม่เล็กของเด็กชายขอบ กับการสร้างกระบวนการเรียนรู้วิทย์แบบบูรณาการ
  
    บนถิ่นทุรกันดารตามแนวรอยต่อพรมแดยระหว่างไทย - พม่า ยังมีเด็กและเยาวชนตามชายขอบ

ที่รอคอยความหวังการเรียนการสอนและการช่วยเหลือจากสังคมอย่างมาก

   สสวท. จึงได้ริเริ่ม "โครงการบูรณาการวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีปฐมวัย" 

ตั้งแต่ปี 2549 ภายใต้แนวทางการจัดอบรมครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ให้มีทักษะบูรณาการ เพื่อต่อยอด

การต่อยอดการเรียนรู้ของเด็ก ผ่านกระบนการสืบเสาะ 4 ขั้นตอน ได้แก่

- การตั้งคำถาม

- การสำรวจตรวจสอบ

- การตอบคำถาม

- นำผลการสำรวจตรวจสอบได้ด้วยตนเอง

   โดยให้นิยามว่า วิทยาศาสตร์  คือ กระบวนการแสวงหาคำตอบและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง

ขอเพียงให้เด็กได้ฝึกกระบวนการคิด วิเคราะห์ การสังสังเกต จำแนก เปรียบเทียบและสรุปความรู้

เพื่อให้เด็กสามารถนำไปใช้แก้ปัญหาในเรื่องต่างๆได้

   สสวท. จะมีการจัดอบรมครูจากโรงเรียนในโครงการฯ ปีละ 1 ครั้ง โดยใช้เวลาทั้งสิ้น 5 วัน

เมื่อครูที่อบรมได้รับความรู้แล้ว ก็จะนำความรู้ไปเผยแพร่ให้กับครูและบุคคลอื่นๆในชุมชน  

เพื่อเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเรียนการสอนให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อเด็กทุกคน 

   ผลจากการประเมินของ สปศ. หลายปีที่ผ่านมา เด็กกลุ่มนี้มีความอ่อนด้อยในทักษะการคิดวิเคราะห์

แต่เมื่อนำกระบวนการของ สสวท. เข้ามาปรับใช้ทำให้การประเมินมาตรฐาน ตามงบประมาณปี 2554

โรงเรียนระดับปฐมวัยทั้ง 13 แห่ง ผ่านการประเมินครบทุกโรงเรียน

    แต่กว่าจะประสบความสำเร็จครูต้อพบปัญหาต่างๆมากมาย เช่น ปัญหาทางการสื่อสารทางภาษา

ความรู้ทางจิตวิทยาเด็ก และเกิดความสับสนของการจัดกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม จนเมื่อได้รับการอบรม

จึงเกิดความเข้าใจว่าแผนการจัดกิจกรรมหลักที่มีอยู่แล้วส่งผลให้ครูมีองค์ความรู้ในการจัดรูปแบบ

การเรียนการสอนได้ชัดเจนยิ่งขึ้นและสามารถต่อยอดกิจกรรมตามสภาพแวดล้อมและภูมิปัญญา

ในท้องถิ่นตน 

   
  


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น