วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ครั้งที่ 14


Science Experiences management for Early childhood



EAED3207 การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

Timetable 08.30-12.20 Group 101 No. 30

20 November 2014


กิจกรรมการเรียน/การสอนในครั้งนี้



วันนี้อาจารย์ได้ให้แบ่งประเภท ของเล่น/สื่อวิทยาศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัย 

โดยสามารถแบ่งตามประเภทเป็น Mind mapping  ได้ดังนี้




ประเภทของเล่น/สื่อวิทยาศาสตร์ Types of toys / materials science


1.การเกิดจุดศูนย์ถ่วง/จุดสมดุล แสง the center of gravity / balance point

2.การเกิดเสียง The noise

3.การใช้แรงดันลม/อากาศ The pressure / air.

4.การใช้แรงดันน้ำ The use of water pressure

5.การใช้พลังงาน/การเกิดแรง Use of power / force.

6.จัดเข้าตามมุม Prepare for the Day



การนำเสนอวิจัยในเรื่องต่างๆ


 สามารถสรุปเนื้อหาเป็น Mind mapping ได้ดังนี้



ลำดับที่ 1 นางสาวชนากานต์ มีดวง 









ลำดับที่ 2 นางสาวสุธิดา คุณโตนด

เรื่อง ผลการบันทึกประสบการณ์วิทยาศาสตร์ที่มีต่อความสามารถด้านมิติสัมพันธ์






ลำดับที่ 3 นางสาวธิดารัตน์  สุทธิพล







ลำดับที่ 4 นางสาวธนภรณ์ คงมนัส

เรื่อง ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับประสบการณ์จากการใช้







กิจกรรม Cooking วอฟเฟิล


      การทำกิจกรรม Cooking ในครั้งนี้อาจารย์ได้มีการแบ่งกลุ่มโดยแบ่งให้เด็กมีจำนวน

เท่าๆกันโดยแบ่งเป็น 6 กลุ่ม จากนนั้นให้ตัวแทนกลุ่มออกไปรับอุปกรณ์เพื่อนำมาประกอบ

การทำกิจกรรม โดยมี วัสดุ/อุกรณ์ ดังนี้

1.แป้ง powder

2.เนย butter

3.ไข่ไก่ 1 ฟอง egg

4.น้ำ water

5.ถ้วย 2 ขนาด (ถ้วยตวงขนาดเล็ก/ถ้วยที่ใช้ในการผสม) 2 cup sizes (small cup / bowl used to mix)

6.ช้อน หรือ ที่ใช้ตีในการผสมแป้ง Use a spoon or a beat in the flour mixture

     


   เมื่อได้รับส่วนผสมและอุปกรณ์ครบแล้ว จากนั้นอาจารย์ก็ให้แต่ละกลุ่มเริ่มผสมแป้ง

ตอกไข่ ใส่เนย เติมน้ำทีละนิด พร้อมคนให้เข้ากันจนได้เนื้อแป้งที่ไม่เหลวและไม่แข็งเกิน







    เมื่อผสมแป้งเสร็จเรียบร้อยแล้ว ตักแป้งใส่ถ้วยตวงถ้วยเล็กเพื่อนำไปอบ (หากต้องการให้

วอฟเฟิลมีขนาดแผ่นที่พอดีควรเทแป้งลงเครื่องอบช่องละประมาณ 1 ถ้วยครึ่ง) ขณะที่เทแป้ง

ลงเครื่องอบนั้น ควรเทจากตรงกลางเครื่องเพื่อให้แป้งกระจายทั่วเครื่องไม่แตกจากกัน

เมื่ออบเสร็จเราก็จะได้วอฟเฟิลที่มีหน้าตาที่น่ากิน และ แสนอร่อย




เมนูนี้ทำได้ง่าย สะดวก อร่อย ประทับใจสุดๆครับ :)


การประเมินผล

      ตนเอง ME : เข้าเรียนตรงต่อเวลา มีจิตสาธารณะในการช่วยอาจารย์ยกของ มีความสนใจ

ตั้งใจเรียนดีมาก มีการตอบคำถามอาจารย์อย่างสม่ำเสมอ ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม

โดยรวมการเรียนของตนเองวันนี้ ถือว่า ดีมาก

      
     เพื่อน FRIEND : เข้าเรียนตรงต่อเวลาทุกคน ส่งงานกันครบอาจมีบางคนต้องปรับปรุงบ้าง

ตั้งใจเรียนและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมกันดีมาก มีการแสดงความเห็นในการทำ

กิจกรรมร่วมกัน มีการถาม-ตอบอาจารย์บ้างบางคน มีส่วนน้อยที่พูด/เล่นกันในขณะอาจารย์ 

หรือเพื่อนพูดหน้าชั้นเรียน สรุปการเรียนของเพื่อนครั้งนี้ ดีมาก

    
     อาจารย์ TEACHER : อาจารย์มีความพร้อมในการเตรียมสื่อการสอนมาอย่างครบถ้วน

มีรูปแบบการสอนที่โดดเด่น น่าสนใจ ทำให้นักศึกษาสนใจในการเรียน มีการชี้แจงให้ความรู้

ประกอบการนำเสนอวิจัยอบ่างชัดเจน มีการเปรียบเทียบเพื่อการนำไปใช้ในการสอน

เด็กปฐมวัยให้มีประสิทธิภาพ พร้อมเทคนิคต่างๆที่สามารถนำไปใช้ได้จริง สำหรับการสอน

ของอาจารย์ในครั้งนี้ ถือว่าประทับใจมากครับ เพราะ มีข้อคิด ความรู้ เทคนิค วิธีการต่างๆที่ให้

นักศึกษาสามารถนำไปประยุกต์ ปรับใช้ในการสอนเด็กปฐมวัยให้เกิดประโยชน์สูงสุุด

วันศุกร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ครั้งที่ 13

Science Experiences management for Early childhood

EAED3207 การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

Timetable 08.30-12.20 Group 101 No. 30

13 November 2014


กิจกรรมการเรียน/การสอนในครั้งนี้

       วันนี้อาจารย์ได้ให้นำเสนอวิจัยในเรื่องต่างๆโดยสามารถสรุปเป็น Mind mapได้ดังนี้




นำเสนอโดย นางสาวกมลพรรณ แสนจันทร์


                ชื่อวิจัย : การส่งเสริมทักษะการสังเกต โดยใช้การจัดกิจกรรม เกมการศึกษา




นำเสนอโดย นางสาวกมลกาญจน์ มินสาคร




นำเสนอโดย นางสาวนฤมล บุญคงชู




นำเสนอโดย นางสาวปานัดดา อ่อนนวล






นำเสนอโดยกระผมเอง นายธนารัตน์ วุฒิชาติ



นำเสนอโดย นางสาวชันฐถ์นันท์ แสวงชับ





นำเสนอโดย นางสาวไลลา คนรู้





การประยุกต์/นำไปใช้ (Application / use)

           สามารถนำความรู้ หลักการ/วิธีการในการจัดกิจกรรมเพื่อเสริมทักษะกระบวนการทาง

วิทยาศาสตร์ที่ได้รับจากการฟังวิจัยเรื่องต่างๆไปประยุกต์ ดัดแปลงหรือนำไปใช้ในการสอน

เด็กปฐมวัยและเป็นแนวทางในการส่งเสริมให้เด็กได้รับความรู้ ทักษะ กระบวนการทาง

วิทยาศาสตร์อย่างครบถ้วน


การประเมินผล  (Evaluation)

           ตนเอง Me : การนำเสนอวิจัยของตนเองในครั้งนี้ถือว่ามีการเตรียมความพร้อมมา

ค่อนข้างดี มีการตอบคำถาม อธิบายและยกตัวอย่างในการนำเสนอวิจัยอาจารย์ได้

สนใจการนำเสนอวิจัยของเพื่อน เข้าเรียนตรงต่อเวลา ให้ความร่วมมือในการเรียนดี

          เพื่อน Friend : สนใจเรียนดี มีการเตรียมการนำเสนอวิจัยที่ดีอาจมีบางส่วนขาด

ความพร้อมในการนำเสนอ มีการยอมรับฟังข้อเสนอแนะของอาจารย์เพื่อนำไปปรับปรุง

อาจมีบ้างเล็กน้อย พูด/คุยขณะเพื่อนนำเสนอวิจัย

         อาจารย์ Teacher : มีการอธิบาย ชี้แจงให้ความรู้เพิ่มเติมในการนำเสนอวิจัยของเพื่อน

เพื่อให้นักศึกษาเกิดความเข้าใจง่ายขึ้น พร้อมยกตัวอย่างที่สอดคล้องกับงานวิจัย และมีการ

ให้คำแนะนำ/ข้อเสนอแนะคนนำเสนอวิจัย เพื่อนำไปปรับปรุงการนำเสนอครั้งต่อไป 

โดยรวมการรียนการสอนของอาจารย์ครั้งนี้ ดีมาก

วันอังคารที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ครั้งที่ 12

Science Experiences management for Early childhood

EAED3207 การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


Timetable 08.30-12.20 Group 101 No. 31


6  November 2014




กิจกรรมการเรียน/การสอนในครั้งนี้

          วันนี้อาจารย์ได้ให้แต่ละกลุ่มนำเสนอการสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ทาง

วิทยาศาสตร์ ตามหัวข้อดังนี้





กลุ่มที่ 1 สอนในรื่องชนิดของกล้วย (kinds of bananas)





กลุ่มที่ 2 สอนเรื่องลักษณะของไก่ (Appearance of chicken )






กลุ่มที่ 3 สอนเรื่องการดำรงชีวิตบองกบ (The life of a frog)






กลุ่มที่ 4 สอนเรื่องประโยชน์และข้อพึงระวังจากปลา (Benefits and risks of fish.)







กลุ่มที่ 5 สอน Cooking ข้าวคลุกไข่ (Fried rice with eggs)







กลุ่มที่ 6 สอนเรื่องชนิดของต้นไม้  (Types of trees)







กลุ่มที่ 7 สอนเรื่องลักษณะของนม/ทดลองนมเปลี่ยนสี

(Characteristics of milk / milk color experiments.)






กลุ่มที่ 8 สอนเรื่องการดูแล/รักษาน้ำ (Maintenance / Water Treatment)






กลุ่มที่ 9 สอนเรื่องวิธีการปลูกต้นมะพร้าว/การขยายพันธ์ุ

(How to plant a coconut tree / the breed)





กลุ่มที่ 10 สอน cooking สลัดผลไม้ (Fruit Salad)



การประเมินผล (Evaluation)


                    ตนเอง Me : เข้าเรียนตรงต่อเวลา มีความสนใจในการเรียนดี มีการให้ความร่วมมือ

ในการนำเสนอการสอนของเพื่อนกลุ่มอื่นๆ จดบันทึกและสรุปการจัดกิจกรรมของเพื่อนทุกกลุ่ม


                    เพื่อน Friend : ตั้งใจเรียนกันดีมาก มีการให้ความร่วมมือและช่วยเหลือซึ่งกันและ

กัน ตั้งใจรับฟังการให้คำแนะนำจากอาจารย์ โดยรวม ดี


                    อาจารย์ Teachers : เข้าสอนตรงต่อเวลา แต่งกายเหมาะสมและสุภาพ มีการทำ

ข้อตกลงร่วมกับนักศึกษาก่อนการนำเสนอกิจกรรม ให้คำแนะนำในการสอนและบอกวิธีการ

เสริมด้านต่างๆเพื่อให้นักศึกษาปรับปรุงให้ดีขี้น โดยรวมการสอนวันนี้ ประทับใจมากครับ :)

สรุปความรู้จากโทรทัศน์ครู Thai teachers TV

        Thai Teachers TV โทรทัศน์ครู : สร้างพื้นฐานการเรียนรู้กับกิจกรรม 5 ประสาทสัมผัส 

      สรุปความรู้ ที่ได้รับจากการโทรทัศน์ครู เรื่องการสร้างฐานการเรียนรู้กับกิจกรรม 5 ประสาทสัมผัส

การจัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย เป็นการเตรียมความพร้อมให้เด็กในทุกๆด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย 

ด้านอารมณ์-จิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา โดยครูจะใช้ของจริงเพื่อเน้นและกระตุ้นที่จะใช้

ประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ ตา-ดู หู-ฟัง จมูก-ดมกลิ่น ลิ้น-ชิมรส กาย-สัมผัส

ขั้นตอนที่การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5

ประสาทสัมผัสที่ 1 การมอง

เมื่อเด็กเห็นของจริง เด็กจะซึมซับในสิ่งที่เด็กเห็น เช่น เล็ก ใหญ่ เป็นต้น

ประสาทสัมผัสที่ 2 การฟัง

เด็กได้เปรียบเทียบเสียงจากกระบอกเสียงและเปลือกหอย

ประสาทสัมผัสที่ 3 การสัมผัส

 เด็กได้สัมผัสจากสื่อของจริงที่ครูจัดให้ เริ่มต้นจากรูปทรงเรขาคณิต จนไปถึงเนื้อผ้าที่มีความละเอียด
ต่างกัน

ประสาทสัมผัสที่ 4 การดมกลิ่น

ครูให้เด็กได้ดมกลิ่น 4 กลิ่น เด็กได้ดมกลิ่นเองและสามารถบอกครูได้ว่าสิ่งที่ดม มีกลิ่นอะไรบ้าง

ประสาทสัมผัสที่ 5 การสัมผัส

เด็กได้ชิมรส ซึ่งมี 4 รสชาด คือ รสเค็ม เปรี้ยว หวาน และขม เด็กได้เกิดการเรียนรู้ โดยนำสิ่งที่เด็กชิม ไป
เปรียบเทียบกับประสบการณ์เดิมที่เด็กเคยได้รับประสบการณ์มา

***หัวใจสำคัญในเรื่องประสาทสัมผัสทั้ง 5 เพื่อเตรียมความพร้อมที่เด็กจะได้เรียนรู้ในขั้นที่สูงต่อไป
และประสาทสัมผัสทั้ง 5 เป็นองค์ประกอบหลักในการได้รับการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย



สรุปวิจัย

ชื่องานวิจัย ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์แบบเน้นกระบวนการ


ปริญญานิพนธ์ ของ ชนกพร ธีระกุล

      การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงทดลอง ซึ่งมุ่งศึกษาเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 

ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบบเน้นกระบวนการ และแบบปกติ ซึ่งสรุปขั้น

ตอนการศึกษาตามลำดับ ดังนี้


จุดมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า

      เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลป

สร้างสรรค์แบบเน้นกระบวนการและแบบปกติ


สมมติฐานในการศึกษาค้นคว้า

     เด็กปฐมวัยที่รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์แบบเน้นกระบวนการ และที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะ

สร้างสรรค์แบบปกติ มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์แตกต่างกัน


ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า

การศึกษาครั้งนี้ มีขอบเขตการศึกษา ดังนี้

      1.ประชากร ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ เด็กนักเรียนชาย-หญิง อายุ 3 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้น

อนุบาลปีที่ 1 ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2540 จำนวน 3 ห้องเรียน ห้องเรียนละ 30 คน ของโรงเรียน

อนุบาลกุ๊กไก่ เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน

    2.กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ เด็กนักเรียนชาย-หญิง อายุ 3 ปี ที่กำลังศึกษา

อยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 1 ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2540 โรงเรียนอนุบาลกุ๊กไก่ เขตพระโขนง 

กรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน จำนวน 1 ห้องเรียน มีจำนวนทั้งสิ้น 30 

คน ซึ่งได้มาโดยมีการสุ่มอย่างง่าย(Simple Random Sampling)


เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า

การศึกษาค้นคว้านี้มีเครื่องมือในการศึกษาครั้งนี้

1.แผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ ซึ้งผู้วิจัยสร้างขึ้นประกอบไปด้วยชื่อกิจกรรม จุดประสงค์ ขั้นตอน

การดำเนินกิจกรรม ชื่อวัสดุอุปกรณ์ และประเมินผล โดยแผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์

แบ่งเป็น 2 แบบ ได้แก่

1.1.แผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบบเน้นกระบวนการ ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นจำนวน 40 แผน

1.2.แผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบบปกติ ซึ่งใช้ตามแผนการจัดประสบการณ์ชั้นอนุบาลที่ 1 

เล่ม1 ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน พ.ศ.2539 โดยผู้วิจัยได้คัดเลือกกิจกรรมให้

สอดคล้องกับกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์แบบเน้นกระบวนการ จำนวน 40 แผน

2.แบบทดสอบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ผู้วิจัยสร้างขึ้น เป็นแบบทดสอบที่ใช้คำถามที่เป็น

รูปภาพชนิด 3 ตัวเลือก และแบบทดสอบภาคปฏิบัติรวมทั้งสิ้นจำนวน 6 ชุด ดังนี้

2.1.แบบทดสอบที่เป็นรูปภาพมี 5 ฉบับ คือ

2.1.1.แบบทดสอบวัดทักษะการสังเกต จำนวน 8 ข้อ

2.1.2.แบบทดสอบวัดทักษะการจำแนก จำนวน 8 ข้อ

2.1.3.แบบทดสอบวัดทักษะการแสดงปริมาณ จำนวน 8 ข้อ

2.1.4.แบบทดสอบวัดทักษะการลงความคิดเห็น จำนวน 5 ข้อ

2.1.5.แบบทดสอบวัดทักษะการหามิติสัมพันธ์ จำนวน 8 ข้อ

2.2.แบบทดสอบภาคปฏิบัติมี 2 ฉบับ คือ

2.2.1 แบบทดสอบวัดทักษะการสื่อความหมาย จำนวน 8 ข้อ

2.2.2 แบบทดสอบวัดทักษะการลงความเห็น จำนวน 5 ข้อ

       จากนั้นทำแบบทดสอบ ซึ่งผ่านการตรวจแก้ไขจากผู้เชี่ยวชาญ และผ่านกระบวนการวิเคราะห์หา

คุณภาพด้านความยากง่าย(p) ได้ค่าระหว่าง .40 - .80 ค่าอำนาจจำแนก(D) ตั่งแต่ .25 ขึ้นไป และหาค่า

ความเชื่อมั่น โดใช้วิธีของคูเดอร์-ริชาร์ดสัน(Kuder-Richardson) ที่คำนวณจากสูตร KR-20 ได้ค่าความ

เชื่อมั่นทั้งฉบับ .90


สรุปผลการศึกษาค้นคว้า

     เด็กปฐมวัยที่ได้รับ การจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบบเน้นกระบวนการและเด็กปฐมวัยที่ได้รับ     

 การจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบบปกติ มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ แตกต่างกันอย่างมีนัย

สำคัญ คือ

     1.เด็กที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบบเน้นกระบวนการ จะมีทักษะทางวิทยาศาสตร์

มากกว่าเด็กที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบบปกติ เพราะ การจัดกิจกรรมแบบเน้นกระบวนการ 

เป็นการเปิดโอกาสให้เด็กได้ปฏิบัติกิจกรรมทุกขั้นตอน โดยผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า ในการสังเกต 

เปรียบเทียบ ทดลอง และลงมือด้วยตนเอง ซึ่งตรงกับความเห็นของ จอห์น ดิวอี้ ที่ว่า การเรียนรู้เกิดจาก

การกระทำ (Learning by Doing)

     2.การจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ ในการวิจัยครั้งนี้มี 2 แบบ ได้แก่ การจัดแบบปกติ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่

ครู เป็นผู้จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำกิจกรรมศิลปะต่างๆ ไว้ให้จนเสร็จแล้วจึงนำสิ่งเหล่านั้นมา

ให้เด็กสร้างงานศิลปะต่างๆตามความต้องการของเด็ก และแบบที่2 คือแบบเน้นกระบวนการ เป็นกิจกรรม

ที่เด็กมีส่วนร่วมในการปฏิบัติกิจกรรมทุกขั้นตอน เช่น การเตรียมแป้งโด เด็กจะเรียนรู้ทักษะทาง

วิทยาศาสตร์ โดย การสำรวจลักษณะ สี รูปร่าง และขนาดของวัสดุอุปกรณ์ทำให้เด็กได้ทักษะการสังเกต 

การจำแนก การเปรียบเทียบและการแสดงปริมาณ เด็กได้รับรู้เกี่ยวกับสี ลักษณะ และสถานะของแป้งกับ

น้ำก่อนที่จะผสมกัน

     ซึ่งกระบวนการเหล่านั้นมีความสำคัญต่อการพัฒนาทักษะทางวิทยาศาสตร์อย่างมาก และตรงกับ

ความคิดของ นิวแมน (Nueman) ที่ว่า การจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์

สำหรับเด็กปฐมวัย ควรเน้นกระบวนการมากกว่าผลผลิต


    ดังนั้นจะเห็นได้ว่า กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบบเน้นกระบวนการช่วยให้เด็กได้รับประสบการณ์ เกิด

การเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ประสบการณ์ที่เด็กได้รับนั้นควรเป็นประสบการณ์ตรง เพราะ ประสบการณ์ตรง

จะช่วยสนับสนุนให้เด็กได้วิเคราะห์ ทดลองหรือลงมือกระทำด้วยตนเอง เป็นการเรียนรู้ด้วยการกระทำ 

(Learning by Doing) ค้นพบความรู้ใหม่ด้วยตนเอง ซึ่งจะทำให้เด็กเกิดความเข้าใจและสามารถจดจำ

ได้นาน

วันจันทร์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ความลับของอากาศ

  
"สรุปจากกการชม วีดีโอ ความลับของอากาศ"


      อากาศ (atmosphere) คือ ส่วนผสมของก๊าซต่าง ๆ และไอน้ำซึ่งส่วนใหญ่ได้แก่

 ก๊าซไนโตรเจน และก๊าซออกซิเจน นอกนั้นเป็นก๊าซอื่น ๆ ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนน้อย อากาศมีอยู่

รอบ ๆ ตัวเราทุกหนทุกแห่ง ทั้งบนยอดสูงสุดของภูเขาและในที่จอดรถใต้ดิน อากาศมีอยู่ใน

บ้าน มีอยู่ในโรงเรียนและในรถยนต์ อากาศไม่มีสี ไม่มีรสชาติ และไม่มีกลิ่น



    อากาศที่ไม่มีไอน้ำเรียกว่า อากาศแห้ง ส่วนอากาศที่มีไอน้ำปนอยู่ด้วย เรียกว่า อากาศชื้น 

ไอน้ำที่มีอยู่ในอากาศมีอยู่ระหว่างร้อยละ 0-4 ของอากาศทั้งหมด ไอน้ำเป็นส่วนผสมที่สำคัญ

ของอากาศ และไอน้ำก็เป็นสาเหตุของการเกิดปรากฏการณ์ต่างๆ เช่น ลม พายุ ฟ้าแลบ 

ฟ้าร้อง รุ้งกินน้ำ เป็นต้น


สมบัติของอากาศ   (Properties)

1.อากาศมีตัวตนและสัมผัสได้

2.อากาศมีน้ำหนัก

3.อากาศต้องการที่อยู่

4.อากาศเคลื่อนที่ได้ และเมื่ออากาศได้รับความร้อนจะขยายตัว ลอยตัวสูงขึ้น ทำให้ความหนา

แน่นของอากาศบริเวณนี้ลดลง อากาศบริเวณใกล้เคียงที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าความหนาแน่น

มากกว่าจะเข้ามาแทนที่ ซึ่งเรียกว่า การเคลื่อนที่ของอากาศหรือลม



    อากาศ จะเกิดการเคลื่อนที่อยู่เสมอ บางเวลาเคลื่อนที่น้อย แต่บางเวลาเคลื่อนที่มาก ทำให้

เกิดการเปลี่ยนแปลงอากาศขึ้น ซึ่งเราสามารถสังเกตได้ง่ายๆ เช่น มีลมพัด มีเมฆ มีฝนตก 

เป็นต้น

    ถ้าอุณหภูมิสองบริเวณมีความแตกต่างกันมาก จะทำให้ความหนาแน่นของอากาศสอง

บริเวณนั้น ทำให้เกิดลมที่มีกระแสลมพัดมีความเร็วสูง เรียกว่า พายุ ชื่อภาพยุนั้นจะเรียกแตก

ต่างไปตามแหล่งทวีปโลก และตามความรุนแรงของพายุที่เกิดขึ้น ถ้ารุนแรงมากอาจทำให้เกิด

ความเสียหายมากขึ้น เช่น เกิดน้ำท่วมอย่างรุนแรง บ้านเรือนพังทลาย ประชากรเสียชีวิตเป็น

จำนวนมาก

     อุณหภูมิ (temperature) คือ ระดับความร้อนหนาวของอากาศ ถ้าอากาศหนาวอุณหภูมิจะลด

ต่ำลง ถ้าอากาศร้อนอุณหภูมิจะสูงขึ้น เครื่องมือที่ใช้วัดอุณหภูมิหรือระดับความร้อนหนาวของ

สิ่งต่างๆ คือ เทอร์โมมิเตอร์ หน่วยของอุณหภูมิใช้หน่วยเป็นองศาเซลเซียส และองศฟาเรนไฮต์


     เทอร์โมมิเตอร์ (thermometer) มีลักษณะคล้ายหลอดแก้ว หัวท้ายปิดมีกระเปาะเล็กๆ อยู่ปลาย

ด้านหนึ่งภายในกระเปาะบรรจุของเหลว เมื่ออากาศร้อนของเหลวจะขยายตัว ทำให้ระดับ

ของเหลวสูงขึ้น เราเรียกว่า อุณหภูมิสูง แต่ถ้าอากาศหนาวของเหลวจะหดตัว ระดับของเหลวจะ

ลดลง เรียกว่า อุณหภูมิต่ำ


     อากาศเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการหายใจของสิ่งมีชีวิต ถ้าขาดอากาศ สิ่งมีชีวิตจะไม่สามารถ

ดำรงชีวิตอยู่ได้

     อากาศช่วยปรับอุณหภูมิของโลกให้พอเหมาะ โดยทำหน้าที่คล้ายเครื่องปรับอุณหภูมิไม่ให้

ร้อนหรือเย็นเกินไป นอกจากนั้นบรรยากาศที่ห่อหุ้มโลกยังทำหน้าที่กรองและดูดรังสีอุลตราไว

โอเลตหรือแสงเหนือม่วงไว้ ไม่ให้ผ่านเข้าสู่โลกชั้นในมากจนเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต

ช่วยป้องกันอันตรายจากสิ่งที่มาจากภายนอกโลก เช่น อุกกาบาต ขยะอวกาศ 

ทำให้เกิดเมฆฝน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการทำเกษตรกรรมในประเทศ

บันทึกอนุทินครั้งที่ 11

Science Experiences Management for Early childhood

EAED3207 การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


Timetable 08.30-12.20 Group 101 No. 31


30nd October 2014



การเรียนการสอน/กิจกรรมในครั้งนี้



กิจกรรมแรกของวันนี้ คือ กิจกรรมดินน้ำมัน จม-ลอย (Clay sink - float)






    ข้อสรุปจากการทำกิจกรรนี้ : ผมสรุปได้ว่าการที่ดินน้ำมันลอยในน้ำได้นั้น เพราะ     

บริเวณพื้นที่ของดินน้ำมันมีรูปทรงที่ทำให้น้ำไม่สามารถเข้ามาได้คือมีมุม ตั้งหรือคล้ายแอ่ง

ทำให้ดินน้ำน้ำมันสามารถลอยได้ ส่วนดินน้ำมันที่จมน้ำเป็น เพราะ รูปทรงเป็นทรงกลม

จึงทำให้ไม่มีมุมในการกันน้ำจึงทำให้จมน้ำ






กิจกรรมที่สองของวันนี้ คือ ดอกไม้บานกลางสายน้ำ (Flowers bloom in the Stream)




ข้อสรุปจากกิจกรรมนี้ : การที่ดอกไม้กระดาษสามารถบานได้ เพราะ กระดาษมีรูที่อากาศ

สามารถเข้าไปแทนที่ได้จึงทำให้น้ำซึมเข้าสู่กระดาษและทำให้ดอกไม้ค่อยๆบาน

เมื่อบานไปเรื่อยๆดอกไม้อาจจม เพราะ มวลของกระดาษมีน้อยทำให้จมน้ำได้





กิจกรรมที่สามของวันนี้ คือ ระดับน้ำพุ่งไกล (The water level rises far)




ข้อสรุปของกิจกรรมนี้ : จากระดับการพุ่งของน้ำทั้งสามระดับสามารถสรุปได้ คือ

น้ำรูที่อยู่ตรงกลางขวดน้ำพุ่งไกลสุด เพราะ เมื่ออากาศเข้ามาแทนที่ทำให้น้ำเกิดแรงดัน

ทำให้น้ำพุ่งได้ไกล  ส่วนรูข้างบนสุดและรูข้างล่างสุดพุ่งไม่ไกลเพราะอากาศมาแทนที่น้อย

กว่ารูที่อยู่ตรงกลางจึงทำให้เกิดแรงดันน้อย




กิจกรรมที่สี่ของวันนี้ คือ การไหลของน้ำ Water flow




ข้อสรุปของกิจกรรมนี้ : น้ำไหลได้นั้น เพราะ เป็นการไหลสู่ที่สูงไปยังที่ต่ำ 

หากเรายกขวดน้ำสูงมากขึ้นเท่าไหร่ก็จะทำให้น้ำไหลแรงมากยิ่งขึ้น (เหมือนกับเกมกาลักน้ำ)





กิจกรรมที่ห้าของวันนี้ คือ แก้วดับเทียน Glass candle fire




ข้อสรุปของกิจกรรมนี้ : เมื่อเราจุดเทียนตั้งไว้ บริเวณรอบๆเทียนจะมีอากาศ 

หรือ ก๊าซออกซิเจนอยู่ แต่เมื่อเราคว่ำแก้วลงกับเทียนเราจะสังเกตเห็นว่าเทียนจะค่อยๆดับ

เพราะเมื่อเราคว่ำแก้วไปก๊าซออกซิเจนก็จะลดน้อยลง เนื่องจากควันไฟจากเทียน

มีก๊าซคาร์บอนฯ จึงทำให้เทียนดับได้






กิจกรรมที่หกของวันนี้ คือ แก้วน้ำขยายปากกา (Extending a pen mug)




ข้อสรุปจากกิจกรรมนี้ : การที่เราเห็นปากกามีขนาดใหญ่ เพราะ น้ำมีส่วนในการขยายภาพ

จากเลนส์ตาของเรา จึงทำให้เรามองเห็นปากกามีขนาดใหญ่กว่าเดิม




การประเมินผล Evaluation

     
      ตนเอง Me :  มีความสนใจ ตั้งใจเรียนให้ความร่วมมือในการเรียนดี มีการตอบคำถาม

สม่ำเสมอ มีจิตสาธารณะในการช่วยอาจารย์จัดเตรียมอุปกรณ์ แต่งกายเรียบร้อย



     เพื่อน My friend : ตั้งใจเรียนกันดี มีความสนใจในการทำกิจกรรมเป้นอย่างมาก

เข้าเรียนตรงต่อเวลา มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน



     อาเจารย์ Teacher : สอนทำกิจกรรมสนุกและประทับใจมากๆ รู้สึกภูมิใจที่ได้เรียน

วิชานี้ เพราะ สามารถนำความรู้และกิจกรรมที่อาจารย์ได้นำเสนอไปปรับใช้ในอนาคตได้

เป็นอย่างดี โดยรวมการสอนของอาจารย์วันนี้ NO COMMENT ขอให้คะแนนการสอน 100 เต็ม

บันทึกอนุทินครั้งที่ 10


Science Experiences Management for Early childhood


EAED3207 การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


Timetable 08.30-12.20 Group 101 No. 31


18nd October 2014



  การเรียนการสอนในครั้งนี้อาจารย์ได้สอนในเรื่องของการเขียนแผนการจัดประสบการณ์

ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  (Scientific plan for early childhood experience)

     
    โดยให้แต่ละกลุ่มนำ Mind mapping ตามหน่วยการเรียนของตนมาปรับใช้ในการเขียนแผน

ซึ่งมีหน่วยการเรียนรู้ต่างๆ ดังนี้


1.หน่วยการเรียนรู้เรื่องกล้วย  banana

2.หน่วยการเรียนรู้เรื่องข้าว rice

3.หน่วยการเรียนรู้เรื่องกบ fog

4.หน่วยการเรียนรู้เรื่องนม milk

5.หน่วยการเรียนรู้เรื่องผลไม้ fruit

6.หน่วยการเรียนรู้เรื่องมะพร้าว coconut

7.หน่วยการเรียนรู้เรื่องปลา fish

8.หน่วยการเรียนรู้เรื่องไก่ chicken

9.หน่วยการเรียนรู้เรื่องน้ำ water

10.หน่วยการเรียนรู้เรื่องต้นไม้ tree



สำหรับกลุ่มของกระผมนั้นได้ทำหน่วยการเรียนรู้เรื่องกล้วย banana ซึ่งสรุป

mind mapping ได้ดังรูปภาพข้างล่างนี้






    ในการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยนั้นเราสามารถ

แบ่งได้ 3 ขั้น ดังนี้


   1.ขั้นนำ : ควรมีการใช้เพลง/เกม/นิทาน/คำคล้องจอง (หลังจากจบกิจกรรมดังกล่าวควรมีการ

ถามทบทวนเนื้อหาเพื่อทดสอบความจำของเด็ก) 


   2.ขั้นสอน : การจัดกิจกรรมต่างๆเช่น กิจกรรมเสริมประสบการณ์ เชื่อมโยงสู่ศิลปะสร้างสรรค์

หรือมีการเชื่อมโยงสู่การบูรณาการทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์


 3.ขั้นสรุป :  ครูและเด็กร่วมกับสรุปความรู้จากการทำกิจกรรมเพื่อทดสอบความรู้หรือ

ความเข้าใจของเด็ก


การประเมินผล  Evaluation


     ตนเอง Me : เข้าเรียนตรงต่อเวลามีการตอบคำถามขณะเรียน สนใจและตั้งใจเรียนดี


   
     เพื่อน My friend : มีความรับผิดชอบในการมาเรียนดี อาจมีบางกลุ่มหรือบางคนขาดเรียน

โดยรวมถือว่ามีความตั้งใจและสนใจกับเรียนเรียนเป็นอย่างดี



     อาจารย์ Teacher : มีความรับผิดต่่อหน้าที่ดีมากใส่ใจนักศึกษาเป็นอย่างดี ให้ความรู้ 

ข้อชี้แจงได้ชัดเจนและละเอียดมีการยกตัวอย่างนำเสนอให้เห็นภาพและเนื้อหาได้เป็นอย่างดี

    

บันทึกอนุทินครั้งที่ 9



Science Experiences Management for Early childhood



EAED3207 การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย



Timetable 08.30-12.20 Group 101 No. 31


16nd October 2014


       ในการเรียนการสอนในครั้งนี้อาจารย์ได้ให้นำเสนอ สื่อวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


(Materials science for preschool children) โดยมีการการนำเสนอสื่อวิทยาสาสตร์ ดังต่อไปนี้


1.ลูกข่างหลากสี 2.ไก่กระต๊าก 3. ขวดผิวปาก 4.กระป๋องโยกเยก 5.ดินสอกังหันลม


6.หลอดปั๊มน้ำ 7. ไหมพรมเต้นระบำ 8. กล้องส่องทางไกล 9. กลองลูกโป่ง 10. หลอดหมุนได้


11. ตุ๊กตาล้มลุก 12. ลูกปิงปองหมุนติ้ว ติ้ว 13. เรือลอยน้ำ 14. วงกลมหรรษา 15. รถพลังลม


16.ลูกข่าง 17.ลูกข่างหรรษา 18. นาฬิกาน้ำ 19. เสียงโพะ 20.ปืนลูกโป่ง


21.หนูน้อยกระโดดร่ม 22.ขวดหนังสติ๊ก 23.คลื่นทะเลในขวด 24.เหวี่ยงมหาสนุก


25.แท่นยิงลูกโป่งจากไม้ไอติม 26.เครื่องร่อนวงแหวน 27.รถแข่ง 28.หลอดเสียงสูง-ต่ำ


29.โทรสัพท์จากแก้วพลาสติก 30.น้ำเปลี่ยนสี 31.หนังสติ๊กหรรษา 32.แม่เหล็กตกปลา


33.เชียร์ลีเดอร์ 34. นักดำน้ำ 35.ลานหรรษา 36.ปิ๊งป่อง 37.กระป๋องบูมเมอแรง


38.แมงปอ 39.กบกระโดด 40.แก้วส่งเสียง 41.เป่าให้ลอย 42.หนังสติ๊กจากไม้ไติม


43.แมงกะพรุน 44.มหัศจรรย์ฝาหมุน 45.แก้วกระโดด 46.กังหันไฟฟ้าสถิต 47.เครื่องบินกระดาษ




สื่อที่เพื่อนๆทุกคนได้นำเสนอวันนี้ล้วนมีความเกี่ยงข้องทางวิทยาศาสตร์ คือ


1.การสั่นสะเทือน Vibration


2.ความถี่ธรรมชาติ natural frequency


3.จุดศูนย์ถ่วง center of gravity


4.แรงดัน pressure


สื่อของกระผมที่ได้นำเสนอวันนี้ คือ หลอดเสียงสูง-ต่ำ (Tube tone)


วัสดุ-อุปกรณ์ Material



           1.หลอดน้ำ 2.เทปกาวใส 3.กระดาษสี 4.กรรไกร 5. ปากกาเคมีหรือปากกาเมจิก







ขั้นตอนการทำหลอดเสียงสูงต่ำ Example


1.เตรียมหลอดมาจำนวน 8 หลอด โดยตัดขนาดของหลอดให้มีขนาดที่ต่างกัน





2.นำเทปกาวใสพันรอบหลอดทั้งด้านล่างและด้านบนตามรูป








3.นำหลอดวางบนกระดาษสี พร้อมนำเทปใสติดหลอดกับกระดาษ






4.พับกระดาษพร้อมติดติดเทปกาวใสเพื่อความหนาแน่น






5. ตกแต่งให้สวยงามตามจิตนาการ/ความชื่นชอบ






วิธีการเล่นหลอดเสียงสูง-ต่ำ How to play

 
       การเล่นหลอดเสียงสูง-ต่ำนั้น เราเล่นโดยเป่าลมด้านที่หลอดมีความยาวเท่ากัน


หรือขนานกัน โดยเราจะเป่าตามแนวยาว ซึ่งเราจะได้ยินเสียงหลอดที่มีความแตกต่างกัน


โดยเสียงนั้นจะเกิดจากการสั่นสะเทอนของหลอด หากหลอดไหนสั้นกว่าจะเกิดเสียงเร็วกว่า


หากหลอดไหนยาวกว่าก็จะเกิดเสียงช้ากว่า...




การประเมินผล Evaluation



      ตนเอง Me : ในการเรียนการสอนครั้งนี้ถือได้ว่ากระผมมีความตั้งใจอย่างมากในการเรียน

มีความสนใจการนำเสนอสื่อของเพื่อนๆทุกคน พร้อมรับฟังคำอธิบายของอาจารย์เป็นอย่างดี



     เพื่อน My friend : มีการนำเสนอสื่อที่มีความหลากหลายน่าสนใจ เพื่อนส่วนใหญ่ตั้งใจเรียนดี

เข้าเรียนตรงต่อเวลา ให้ความร่วมมือในการนำเสนอสื่อเป็นอย่างดี



     อาจารย์ Teacher : เข้าสอนตรงต่อเวลา มีการให้คำแนะนำ ข้อเสนอแนะเป็นอย่างดี

นึกถึงความสำคัญของนักศึกษาเป็นหลัก ให้ความรู้ได้อย่างครบถ้วนและชัดเจน