วันอังคารที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สรุปวิจัย

ชื่องานวิจัย ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์แบบเน้นกระบวนการ


ปริญญานิพนธ์ ของ ชนกพร ธีระกุล

      การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงทดลอง ซึ่งมุ่งศึกษาเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 

ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบบเน้นกระบวนการ และแบบปกติ ซึ่งสรุปขั้น

ตอนการศึกษาตามลำดับ ดังนี้


จุดมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า

      เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลป

สร้างสรรค์แบบเน้นกระบวนการและแบบปกติ


สมมติฐานในการศึกษาค้นคว้า

     เด็กปฐมวัยที่รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์แบบเน้นกระบวนการ และที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะ

สร้างสรรค์แบบปกติ มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์แตกต่างกัน


ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า

การศึกษาครั้งนี้ มีขอบเขตการศึกษา ดังนี้

      1.ประชากร ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ เด็กนักเรียนชาย-หญิง อายุ 3 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้น

อนุบาลปีที่ 1 ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2540 จำนวน 3 ห้องเรียน ห้องเรียนละ 30 คน ของโรงเรียน

อนุบาลกุ๊กไก่ เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน

    2.กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ เด็กนักเรียนชาย-หญิง อายุ 3 ปี ที่กำลังศึกษา

อยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 1 ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2540 โรงเรียนอนุบาลกุ๊กไก่ เขตพระโขนง 

กรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน จำนวน 1 ห้องเรียน มีจำนวนทั้งสิ้น 30 

คน ซึ่งได้มาโดยมีการสุ่มอย่างง่าย(Simple Random Sampling)


เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า

การศึกษาค้นคว้านี้มีเครื่องมือในการศึกษาครั้งนี้

1.แผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ ซึ้งผู้วิจัยสร้างขึ้นประกอบไปด้วยชื่อกิจกรรม จุดประสงค์ ขั้นตอน

การดำเนินกิจกรรม ชื่อวัสดุอุปกรณ์ และประเมินผล โดยแผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์

แบ่งเป็น 2 แบบ ได้แก่

1.1.แผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบบเน้นกระบวนการ ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นจำนวน 40 แผน

1.2.แผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบบปกติ ซึ่งใช้ตามแผนการจัดประสบการณ์ชั้นอนุบาลที่ 1 

เล่ม1 ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน พ.ศ.2539 โดยผู้วิจัยได้คัดเลือกกิจกรรมให้

สอดคล้องกับกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์แบบเน้นกระบวนการ จำนวน 40 แผน

2.แบบทดสอบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ผู้วิจัยสร้างขึ้น เป็นแบบทดสอบที่ใช้คำถามที่เป็น

รูปภาพชนิด 3 ตัวเลือก และแบบทดสอบภาคปฏิบัติรวมทั้งสิ้นจำนวน 6 ชุด ดังนี้

2.1.แบบทดสอบที่เป็นรูปภาพมี 5 ฉบับ คือ

2.1.1.แบบทดสอบวัดทักษะการสังเกต จำนวน 8 ข้อ

2.1.2.แบบทดสอบวัดทักษะการจำแนก จำนวน 8 ข้อ

2.1.3.แบบทดสอบวัดทักษะการแสดงปริมาณ จำนวน 8 ข้อ

2.1.4.แบบทดสอบวัดทักษะการลงความคิดเห็น จำนวน 5 ข้อ

2.1.5.แบบทดสอบวัดทักษะการหามิติสัมพันธ์ จำนวน 8 ข้อ

2.2.แบบทดสอบภาคปฏิบัติมี 2 ฉบับ คือ

2.2.1 แบบทดสอบวัดทักษะการสื่อความหมาย จำนวน 8 ข้อ

2.2.2 แบบทดสอบวัดทักษะการลงความเห็น จำนวน 5 ข้อ

       จากนั้นทำแบบทดสอบ ซึ่งผ่านการตรวจแก้ไขจากผู้เชี่ยวชาญ และผ่านกระบวนการวิเคราะห์หา

คุณภาพด้านความยากง่าย(p) ได้ค่าระหว่าง .40 - .80 ค่าอำนาจจำแนก(D) ตั่งแต่ .25 ขึ้นไป และหาค่า

ความเชื่อมั่น โดใช้วิธีของคูเดอร์-ริชาร์ดสัน(Kuder-Richardson) ที่คำนวณจากสูตร KR-20 ได้ค่าความ

เชื่อมั่นทั้งฉบับ .90


สรุปผลการศึกษาค้นคว้า

     เด็กปฐมวัยที่ได้รับ การจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบบเน้นกระบวนการและเด็กปฐมวัยที่ได้รับ     

 การจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบบปกติ มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ แตกต่างกันอย่างมีนัย

สำคัญ คือ

     1.เด็กที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบบเน้นกระบวนการ จะมีทักษะทางวิทยาศาสตร์

มากกว่าเด็กที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบบปกติ เพราะ การจัดกิจกรรมแบบเน้นกระบวนการ 

เป็นการเปิดโอกาสให้เด็กได้ปฏิบัติกิจกรรมทุกขั้นตอน โดยผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า ในการสังเกต 

เปรียบเทียบ ทดลอง และลงมือด้วยตนเอง ซึ่งตรงกับความเห็นของ จอห์น ดิวอี้ ที่ว่า การเรียนรู้เกิดจาก

การกระทำ (Learning by Doing)

     2.การจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ ในการวิจัยครั้งนี้มี 2 แบบ ได้แก่ การจัดแบบปกติ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่

ครู เป็นผู้จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำกิจกรรมศิลปะต่างๆ ไว้ให้จนเสร็จแล้วจึงนำสิ่งเหล่านั้นมา

ให้เด็กสร้างงานศิลปะต่างๆตามความต้องการของเด็ก และแบบที่2 คือแบบเน้นกระบวนการ เป็นกิจกรรม

ที่เด็กมีส่วนร่วมในการปฏิบัติกิจกรรมทุกขั้นตอน เช่น การเตรียมแป้งโด เด็กจะเรียนรู้ทักษะทาง

วิทยาศาสตร์ โดย การสำรวจลักษณะ สี รูปร่าง และขนาดของวัสดุอุปกรณ์ทำให้เด็กได้ทักษะการสังเกต 

การจำแนก การเปรียบเทียบและการแสดงปริมาณ เด็กได้รับรู้เกี่ยวกับสี ลักษณะ และสถานะของแป้งกับ

น้ำก่อนที่จะผสมกัน

     ซึ่งกระบวนการเหล่านั้นมีความสำคัญต่อการพัฒนาทักษะทางวิทยาศาสตร์อย่างมาก และตรงกับ

ความคิดของ นิวแมน (Nueman) ที่ว่า การจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์

สำหรับเด็กปฐมวัย ควรเน้นกระบวนการมากกว่าผลผลิต


    ดังนั้นจะเห็นได้ว่า กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบบเน้นกระบวนการช่วยให้เด็กได้รับประสบการณ์ เกิด

การเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ประสบการณ์ที่เด็กได้รับนั้นควรเป็นประสบการณ์ตรง เพราะ ประสบการณ์ตรง

จะช่วยสนับสนุนให้เด็กได้วิเคราะห์ ทดลองหรือลงมือกระทำด้วยตนเอง เป็นการเรียนรู้ด้วยการกระทำ 

(Learning by Doing) ค้นพบความรู้ใหม่ด้วยตนเอง ซึ่งจะทำให้เด็กเกิดความเข้าใจและสามารถจดจำ

ได้นาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น